วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนตัวจ่ายไฟกล้องวงจรปิด...by นฤเทพ

อาการหนึ่งที่พบบ่อยครั้ง ของระบบกล้องวงจรปิด คือ อาการไม่มีสัญญาณมา


ลองถอดตัวจ่ายไฟ(adaptor)ของกล้องออกมา ลองวัดค่าแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายออกมา 
 จากรูปด้านล่าง วัดไฟที่ออกมาได้ ประมาณ 8 โวลท์กว่า ซึ่งจากสเปคของตัวจ่ายไฟนี้ จะต้องจ่ายออกมา 12 โวลท์ หายไป 4 โวลท์


แสดงว่าตัวจ่ายไฟตัวนี้แรงดันตกไม่สามารถใช้งานได้ เลยซื้อตัวใหม่มาทดแทน ตามสเปคเดิมคือ แปลงไฟเป็นไฟตรง(DC) 12V 


ข้อสังเกตในการเลือก ตัวแปลงไฟประเภทนี้ ให้ดูที่ขั้วจ่ายไฟด้วยว่าขนาดเท่ากันหรือไม่ และมีขั้วเหมือนกันหรือไม่ (ดูสัญลักษณ์ ที่เป็นวงกลมแล้วมีเส้นขีด มีเครื่องหมาย + - )


จากรูปด้านบนจะเห็นว่าเครื่องหมาย สัญลักษณ์ที่บอกขั้วไม่ตรงกัน ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้เลย จะต้องทำการสลับขั้วก่อน


ลองเปิดข้างในดู จะเห็นมีหม้อแปลงตัวสีแดงๆ 1 ตัวและวงจรควบคุม ไม่ไห้แรงดันเกิน 12V
ตัวหม้อแปลงสีแดงๆ ตัวนี้จะทำหน้าที่ลดแรงดันไฟบ้านจาก 220 ให้ลดลงมาต่ำๆ แล้วใช้วงจรควบคุมแรงดันให้ได้ 12V แต่ถ้าหม้อแปลงตัวนี้ทำงานผิดเพี้ยน ลดแรงดันต่ำกว่า 12V ก็จะทำให้แรงดันที่ออกมาใช้งานลดต่ำลง (เหมือนในกรณีนี้)


บริเวณสายไฟออกของวงจร ในภาพจะเห็น ที่ output จะมีสัญลักษณ์ + - อยู่ ให้บัดกรี สลับสายสองเส้นนี้ก็สามารถนำไปใช้งานได้แล้ว


วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้การทำสายสัญญาณ...by นฤเทพ

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการใช้่งานโสต เกี่ยวกับระบบภาพและเสียง ก็คือสายนำสัญญาณ และหัวต่อต่างๆ และสิ่งที่จะแนะนำในบทความนี้ก็คือ ขั้วต่อสัญญาณแบบ XLR ซึ่งจะเห็นได้แพร่หลาย อาทิ เช่น สายไมโครโฟน สายสัญญาณที่เชื่อมต่อกับ มิกเซอร์

  
ขั้วต่อ แบบ XLR ตัวผู้และตัวเมีย


ขั้วต่อ แบบ ต่างๆ (ซ้าย : แบบ RCA,กลาง : แบบ PHONE หูฟัง, ขวา : แบบ XLR )

 

สายนำสัญญาณ ที่จะนำมาใช้ ถ้านำมาใช้งานด้วย audio จะใช้สายที่เรียกว่า สายชิลด์ 
(สายที่มีสายๆ เส้นในสายเดียวกัน)

การเข้าสายแบบ XLR 
เริ่มต้นจากการแยกส่วนประกอบของหัวต่อออกก่อน แล้วลอดสายผ่านตัวถัง

สายที่นำมาใช้เป็นสาย ชิลด์ แบบสเตอริโอ จะมีส่วนของชิลด์กราวน์ และัตัวนำ 2 เส้น 
(ในภาพสายตัวนำสัญญาณสีขาวและแดง )


ที่ขั้วของ XLR จะมี 4 ขั้ว เขียนหมายเลขที่ขั้ว 1,2,3 และที่เหลือจะเป็นตัวถัง (กราวน์)



เราเชื่อมสาย สีแดง เข้าที่ขั้ว 2 และ สีขาว เข้าที่ขั้ว 3 ส่วนกราวน์(ชิลด์ของสาย) เข้าที่ 1


เสร็จแล้วประกอบตัวถัง


การเข้าสายจะมี 2 แบบคือแบบ Balanced และ Unbalanced


ตัวอย่างการถอด-ประกอบหัวต่อแบบ ต่างๆ


ตัวอย่างการดูขั้วต่างๆ และแบบการต่อสาย



สายชุดนี้ทำขึ้นเพื่อใช้งา่นในศูนย์ และส่งต่อให้ฝ่ายเครือข่ายได้ใช้งาน

 หัวต่อแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย






วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การแก้ไขพัดลมระบายอากาศเบื้องต้น...by นฤเทพ

อุปกรณ์ที่ใช้งานในด้านเครือข่ายหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการใช้งานแล้วเกิดความร้อนก็มักจะนำพัดลมระบายอากาศเข้ามาติดตั้งเพื่อใช้ระบายความร้อนของอุปกรณ์ ซึ่งพัดลมเมื่อใช้ไปนานๆๆ ก็จะเกิดความสกปรก เมื่อเกิดปัญหาพัดลมทำงานผิดปกติ อาจเกิดผลกระทบต่างๆ เช่น เกิดความร้อนสะสม หรือ ระบบทำงานผิดเพี้ยนไป (อุปกรณ์ที่มีระบบความคุมความร้อน)

ในอุปกรณ์เครือข่ายเช่นกัน ซึ่งเจอในเคสนี้ อาการ พัดลมมีเสียงดังมาก หมุนด้วยความเร็วผิดปกติ





ลอกสติกเกอร์ที่ปิดออก จะเจอแกนหมุนและแหวนล๊อค ให้งัดแหวนล๊อคออก



เมื่อดึงแกนใบพัดออกมา ทำความสะอาด ภายในจะมีลูกปืนที่แกน ให้ใช้น้ำมันหล่อลื่น และจาระบี หล่อลื่นชิ้นส่วน ที่เป็นจุดหมุน

ประกอบกลับแล้วนำไปใช้งาน

สุดท้ายถ้าไม่พอใจหรือไม่หายให้เปลี่ยนครับ


พัดลมระบายความร้อนรุ่นต่างๆๆที่ใกล้เคียงกัน
ข้อพิจารณาในการเปลี่ยนพัดลมระบายใหม่ (กรณีไม่ตรงรุ่นเดิม)
1. ขนาด ตำแหน่งรูยึด ความหนาบาง
2. ชนิด สายของพัดลม (ตำแหน่งสาย)
*พัดลม 3 สายจะสามารถความคุมความเร็วได้ ตำแหน่งสายจะต้องเทียบให้ตรงรุ่น


จากรูปเป็น switch ที่มีพัดลมภายใน จำนวน 5 ตัว มีวงจรความคุมความเร็ว พื้นที่ภายใน มีจำกัด