วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนตัวจ่ายไฟกล้องวงจรปิด...by นฤเทพ

อาการหนึ่งที่พบบ่อยครั้ง ของระบบกล้องวงจรปิด คือ อาการไม่มีสัญญาณมา


ลองถอดตัวจ่ายไฟ(adaptor)ของกล้องออกมา ลองวัดค่าแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายออกมา 
 จากรูปด้านล่าง วัดไฟที่ออกมาได้ ประมาณ 8 โวลท์กว่า ซึ่งจากสเปคของตัวจ่ายไฟนี้ จะต้องจ่ายออกมา 12 โวลท์ หายไป 4 โวลท์


แสดงว่าตัวจ่ายไฟตัวนี้แรงดันตกไม่สามารถใช้งานได้ เลยซื้อตัวใหม่มาทดแทน ตามสเปคเดิมคือ แปลงไฟเป็นไฟตรง(DC) 12V 


ข้อสังเกตในการเลือก ตัวแปลงไฟประเภทนี้ ให้ดูที่ขั้วจ่ายไฟด้วยว่าขนาดเท่ากันหรือไม่ และมีขั้วเหมือนกันหรือไม่ (ดูสัญลักษณ์ ที่เป็นวงกลมแล้วมีเส้นขีด มีเครื่องหมาย + - )


จากรูปด้านบนจะเห็นว่าเครื่องหมาย สัญลักษณ์ที่บอกขั้วไม่ตรงกัน ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้เลย จะต้องทำการสลับขั้วก่อน


ลองเปิดข้างในดู จะเห็นมีหม้อแปลงตัวสีแดงๆ 1 ตัวและวงจรควบคุม ไม่ไห้แรงดันเกิน 12V
ตัวหม้อแปลงสีแดงๆ ตัวนี้จะทำหน้าที่ลดแรงดันไฟบ้านจาก 220 ให้ลดลงมาต่ำๆ แล้วใช้วงจรควบคุมแรงดันให้ได้ 12V แต่ถ้าหม้อแปลงตัวนี้ทำงานผิดเพี้ยน ลดแรงดันต่ำกว่า 12V ก็จะทำให้แรงดันที่ออกมาใช้งานลดต่ำลง (เหมือนในกรณีนี้)


บริเวณสายไฟออกของวงจร ในภาพจะเห็น ที่ output จะมีสัญลักษณ์ + - อยู่ ให้บัดกรี สลับสายสองเส้นนี้ก็สามารถนำไปใช้งานได้แล้ว


วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้การทำสายสัญญาณ...by นฤเทพ

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการใช้่งานโสต เกี่ยวกับระบบภาพและเสียง ก็คือสายนำสัญญาณ และหัวต่อต่างๆ และสิ่งที่จะแนะนำในบทความนี้ก็คือ ขั้วต่อสัญญาณแบบ XLR ซึ่งจะเห็นได้แพร่หลาย อาทิ เช่น สายไมโครโฟน สายสัญญาณที่เชื่อมต่อกับ มิกเซอร์

  
ขั้วต่อ แบบ XLR ตัวผู้และตัวเมีย


ขั้วต่อ แบบ ต่างๆ (ซ้าย : แบบ RCA,กลาง : แบบ PHONE หูฟัง, ขวา : แบบ XLR )

 

สายนำสัญญาณ ที่จะนำมาใช้ ถ้านำมาใช้งานด้วย audio จะใช้สายที่เรียกว่า สายชิลด์ 
(สายที่มีสายๆ เส้นในสายเดียวกัน)

การเข้าสายแบบ XLR 
เริ่มต้นจากการแยกส่วนประกอบของหัวต่อออกก่อน แล้วลอดสายผ่านตัวถัง

สายที่นำมาใช้เป็นสาย ชิลด์ แบบสเตอริโอ จะมีส่วนของชิลด์กราวน์ และัตัวนำ 2 เส้น 
(ในภาพสายตัวนำสัญญาณสีขาวและแดง )


ที่ขั้วของ XLR จะมี 4 ขั้ว เขียนหมายเลขที่ขั้ว 1,2,3 และที่เหลือจะเป็นตัวถัง (กราวน์)



เราเชื่อมสาย สีแดง เข้าที่ขั้ว 2 และ สีขาว เข้าที่ขั้ว 3 ส่วนกราวน์(ชิลด์ของสาย) เข้าที่ 1


เสร็จแล้วประกอบตัวถัง


การเข้าสายจะมี 2 แบบคือแบบ Balanced และ Unbalanced


ตัวอย่างการถอด-ประกอบหัวต่อแบบ ต่างๆ


ตัวอย่างการดูขั้วต่างๆ และแบบการต่อสาย



สายชุดนี้ทำขึ้นเพื่อใช้งา่นในศูนย์ และส่งต่อให้ฝ่ายเครือข่ายได้ใช้งาน

 หัวต่อแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย